ปัจจัยเสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนี้:
● โรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี โรคหัวใจอื่น ๆ และการผ่าตัดหัวใจก่อนหน้า การมีเส้นเลือดแดงใหญ่ตีบตัน หัวใจวาย วาล์วหัวใจไม่ปกติ เคยผ่าตัดหัวใจมาก่อน หัวใจล้มเหลว โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ และความเสียหายอื่น ๆ ของหัวใจเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
● ความดันโลหิตสูง เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี อาจทำให้ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนาขึ้น ซึ่งจะทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจเคลื่อนที่ผ่านได้ยากขึ้น
● โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด การมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
● มีปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ การมีฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
● โรคเบาหวาน การเป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี และโรคความดันโลหิตสูง
● ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะนี้อาจทำให้เกิดการเต้นของหัวใจช้าลง หัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอื่น ๆ
● ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ มีสารในเลือดที่ถูกเรียกว่าอิเล็กโทรไลต์ — เช่น โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม และแม็กนีเซียม — ช่วยกระตุ้นให้เกิดกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หากอิเล็กโทรไลต์สูงหรือต่ำเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเป็นความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ:
● ยาหรืออาหารเสริม ยาเพื่อบรรเทาอาการไอ และหวัดบางชนิดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา และยาที่สั่งจ่ายจากแพทย์บางชนิดอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
● การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากไป การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากไปอาจส่งผลต่อการนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจและทำให้หัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว
● การใช้นิโคติน สารเสพติดอื่น ๆ และคาเฟอีน คาแฟอีน นิโคติน และสารกระตุ้นอื่น ๆ สามารถทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นได้ และอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่รุนแรง การใช้ยาเสพติด เช่น แอมเฟตามีน และโคเคน อาจส่งผลต่อหัวใจ และทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายชนิด หรือทำให้เสียชีวิตได้จาก ventricular fibrillation